มาตรการรับมือเรียงตามประเทศ ของ มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร

 อัฟกานิสถาน

จากการรายงานของ Telegraph.co.uk สุกรเพียงตัวเดียวในอัฟกานิสถานถูกยกเลิกการจัดแสดงในสวนสัตว์กรุงคาบูล และ "กักกัน" เพื่อรับมือกับความกลัวของผู้เข้าเยี่ยมชมซึ่งอาจติดต่อไข้หวัดในสุกรได้[14]

 อาร์เจนตินา

รายงานของการติดต่อของไวรัสจากคนสู่สุกรถูกพบในจังหวัดบัวนอสไอเรสเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ฟาร์มสุกรซึ่งเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นได้รับคำสั่งห้าม[15]

 แคนาดา

โรครับจากสัตว์ในแคนาดา:
  พบการติดต่อจากคนสู่สัตว์และสัตว์สู่คน

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม รองประธานหน่วยงานตรวจตราอาหารแคนาดา ไบรอัน อีแวนส์ ประกาศว่าผู้รับจ้างทำงานในฟาร์มซึ่งติดเชื้อในอัลเบอร์ตา เพิ่งจะกลับมาจากเม็กซิโก และได้ส่งต่อไข้หวัดใหญ่ในฝูงสุกรเลี้ยงในการดูแลของเขา ถึงแม้ว่าสุกรจะถูกกักกัน อีแวนส์เน้นว่าการระบาดจะไม่คุกคามความปลอดภัยของอาหารและตัดสินความเป็นไปได้ในการที่สุกรติดเชื้อจะส่งไวรัสกลับสู่คนอีกครั้ง อีแวนส์กล่าวว่าการระบาดของฝูงสัตว์เป็นกรณีแรกของการติดต่อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 จากคนสู่สุกร[16]

ต้นเดือนมิถุนายน ผู้เลี้ยงสุกรในอัลเบอร์ตาซึ่งฝูงสุกรในการดูแลได้รับการติดต่อจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ต้องลดจำนวนสัตว์ทั้งหมด ในเดือนพฤษภาคม เขาได้ลดจำนวนสัตว์ในฝูงลงไปแล้ว 500 ตัว เจ้าของฟาร์มกล่าวว่าสัตว์ดังกล่าวไม่สามารถนำไปขายได้ เนื่องจากสุกรถูกกักกัน อีกทั้งเขากำลังเผชิญกับปัญหาสุกรแน่นเกินไปอยู่แล้ว[17]

การถ่ายทอดจากฝูงสุกรฝูงเดียวกันนี้กลับสู่คนได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม โดยเป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วัที่ 7 พฤษภาคม เมื่อมนุษย์ ผู้ตรวจการสุขภาพสัต์ กำลังเก็บตัวอย่างจากฝูงสัตว์ที่ติดเชื้อโดยที่มีมาตรการป้องกันตนเองไม่เพียงพอ[18]

 จีน

สาธารณรัฐประชาชนจีนสั่งห้ามการนำเข้าสุกรอย่างเด็ดขาด[19]

 อียิปต์

เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลอียิปต์ประกาศตัดสินใจฆ่าสุกรทุกตัวในประเทศ เป็นปริมาณกว่า 300,000 ตัว ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะขาดหลักฐานซึ่งแสดงว่าสุกรดังกล่าวติดหรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส[20][21] การตัดสินใจดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดทางศาสนาเนื่องจากเจ้าของสุกรส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์นิกายคอปติกออร์โธด็อกซ์ ซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศ (ราว 15-20% ของประชากรทั้งหมด) ในชาติซี่งมีประชากรอิสลามมากที่สุด ทนายความสิทธิมนุษยชนชาวอียิปต์ Nadia Tawfiq กล่าวอ้างว่าการสั่งฆ่าหมูเป็นรูปแบบหนึ่งของการโจมตีคริสเตียน[22] หนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศให้เหตุผลของการกระทำดังกล่าวว่ามาจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสุกรในระดับโลก[23] ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานการพบไข้หวัดใหญ่ในสุกรในประเทศเลยก็ตาม[21]

รัฐบาลเริ่มต้นการฆ่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[1] ซึ่งนำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าของสุกรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในไคโร ในวันต่อมา ผู้อยู่อาศัยชาวคริสต์นิกายคอปติกออร์โธด็อกซ์ราว 300 คน ในอำเภอ Manshiyat Nasr ได้สร้างสิ่งกีดขวางบนถนนเพื่อพยายามป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในการริบสุกรของพวกเขา ซึ่งนำไปสู่การปะทะกับตำรวจอีกเช่นกัน Al-Ahram หนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในอียิปต์ รายงานว่าเจ้าของสุกรจะได้รับเงิน 1,000 ปอนด์อียิปต์ (ราว 177.70 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็นค่าชดเชยต่อสุกรหนึ่งตัวที่ถูกฆ่า[24] แต่รอยเตอร์รายงานว่าประเด็นดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา ซึ่งกล่าวโดยโฆษกคณะรัฐมนตรีอียิปต์[24]

 กานา

กานาสั่งห้ามการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์เนื้อสุกร[25]

 อินโดนีเซีย

ภายหลังการประชุมร่วมกันเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลอินโดนีเซียสั่งระงับการนำเข้าสุกร และเริ่มการตรวจสอบสุกร 9 ล้านตัวในประเทศ[26]

 อิรัก

Adel Salman Musa ผู้อำนวยการสวนสัตว์แบกแดดกล่าวว่า "ได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการหลายกระทรวงโดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันไข้หวัดใหญ่ในสุกร" ในการฆ่าหมูป่าสามตัวของแบกแดด[1] เขากล่าวว่าการฆ่าจะเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวสวนสัตว์[1] โดยก่อนหน้านี้ จำนวนนักท่องเที่ยวได้ลดลงเป็นเวลาหลายวัน หมูป่าได้รับการทดสอบก่อนการฆ่า ซึ่งผลปรากฏว่าเป็นลบ[1] ผู้อำนวยการสวนสัตว์กล่าวว่าพวกมันถูกฆ่าอย่างเมตตา[1] ด้วยการใช้ยาสลบ[27] ซากของมันถูกฝังในภายหลัง[27]

กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าการฆ่าสุกรไม่มีจุดประสงค์ในการป้องกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสุกรในขณะที่ยังไม่มีกรณีที่รายงาน[28] Ehassan Jafar โฆษกกระทรวงการสาธารณสุขของประเทศ กล่าวว่า "มันไม่มีประโยชน์" นับตั้งแต่ไวรัสสามารถสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้[28]

 ญี่ปุ่น

กระทรวงการเกษตร การป่าไม้ และการประมงแห่งญี่ปุ่น ได้สั่งให้หน่วยงานกักกันสัตว์ทั่วประเทศตรวจสอบสุกรมีชีวิตที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันไม่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็ร 1[29] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรญี่ปุ่น Shigeru Ishiba ปรากฏตัวในโทรทัศน์เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่าการบริโภคเนื้อสุกรมีความปลอดภัยเพียงพอ[30] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการทำนากล่าวว่ากระทรวงจะไม่เรียกร้องให้มีการจำกัดการนำเข้าเนื้อสุกร เนื่องจากไวรัสไม่ปรากฏในเนื้อสุกรบ่อยนัก และไวรัสจะถูกฆ่าเมื่อผ่านความร้อน[31]

เคิร์ดิสถาน

รัฐบาลท้องถิ่นของเคิร์ดิสถานสั่งห้ามการล่าหมูป่า[1] ในพื้นที่ซึ่งมีประชากรหมูป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก[1] ผู้ที่อยู่อาศัยได้รับการบอกเล่าให้หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสุกร[1] นักเดินทางถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดสำหรับกิจกรรมของพวกเขาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว[1]

 นอร์ทมาซิโดเนีย

เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลสาธารณรัฐมาซิโดเนียสั่งห้ามการส่งออกทั้งหมดและการนำเข้าสุกรมีชีวิต[32]

 เกาหลีเหนือ

ไม่มีกฤษฎีกาของรัฐใด ๆ เกี่ยวกับมาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความปลอดภัยประชาชนโดยเริ่มการป้องกันการขายเนื้อสุกรแต่เพียงฝ่ายเดียว ในบางเมืองของประเทศ เนื้อสุกรเป็นสินค้าที่พบได้ยากมาก[33]

 นอร์เวย์

สุกร 500 ตัว ถูกฆ่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม หลังจากพบไข้หวัดใหญ่ในสุกรในฟาร์มแห่งหนึ่งเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ สุกรอีก 900 ตัว จากฟาร์มอีกแห่งหนึ่งได้ถูกฆ่าเช่นกัน[34][35]

 ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์สั่งห้ามการนำเข้าสุกรจากประเทศซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ การสั่งห้ามดังกล่าวถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ยกเว้นการนำเข้าจากแคนาดา เนื่องจากรัฐบาลยังคงตรวจสอบความเป็นไปได้ของการถ่ายทอดไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 จากคนสู่สุกร การนำเข้าสุกรจากแคนาดาถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม[36][37]

 รัสเซีย

สหพันธรัฐรัสเซียสั่งห้ามการนำเข้าสุกร[38]

 ยูเครน

การนำเข้าเนื้อสุกรและสุกรมีชีวิตจากประเทศซึ่งได้รับผลกระทบทั้งหมดถูกสั่งห้าม การสั่งห้ามดังกล่าวมีผลถึงผลิตภัณฑ์ซึ่งส่งมอบหลังวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552[39]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร http://www.thenational.ae/article/20090430/NATIONA... http://www.cbc.ca/canada/calgary/story/2009/07/20/... http://www.cbc.ca/canada/story/2009/05/02/swineflu... http://www.healthzone.ca/health/article/647016 http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://edition.cnn.com/2009/WORLD/meast/05/03/iraq... http://www.dailynk.com/english/read.php?cataId=nk0... http://gbcghana.com/news/25813detail.html http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM... http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5...